Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

Epiphany นิทรรศการเดี่ยวโดย ภาคภูมิ ศิลาพันธ์ นำเสนอศิลปะจากวัตถุข้าวของสำเร็จรูปผสานเรื่องราวอันเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ศิลปะโลกหลากยุคสมัย 

ภาคภูมิ ศิลาพันธ์ ศิลปินร่วมสมัยชาวไทย ผู้มีผลงานจัดแสดงในแกลเลอรีชั้นนำ ทั้งในลอนดอน, ลิเวอร์พูล, ประเทศอังกฤษ และอีกหลายประเทศทั่วโลก ทั้งนิวยอร์ก, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, อินเดีย, ฮ่องกง, ฝรั่งเศส ผลงานของเขาถูกสะสมโดยพิพิธภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกอย่างพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่แห่งนิวยอร์ก (MoMA), พิพิธภัณฑ์บรูคลิน รวมถึงนักสะสมศิลปะร่วมสมัยชั้นนำของโลกอย่าง เซอร์ พอล สมิธ , มินนี่ ไดรเวอร์ และ ริชาร์ด เคอร์ติส ฯลฯ

ภาคภูมิมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาได้ใช้ชีวิตวัยเด็กในจังหวัดสุโขทัย หลังจากนั้นได้เรียนต่อในสาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากรที่กรุงเทพมหานคร เมื่อจบการศึกษาภาคภูมิได้หันเหไปทำงานในแวดวงโฆษณาอยู่สองปี ก่อนที่จะเดินทางไปเรียนต่อทางด้านศิลปะที่สถาบัน แคมเบอร์เวล คอลเลจ ออฟ อาร์ตส และ เชลซี คอลเลจ ออฟ อาร์ต แอนด์ ดีไซน์ ใน กรุงลอนดอน, ประเทศอังกฤษ

เขาเริ่มต้นอาชีพทางศิลปะด้วยผลงานศิลปะสื่อผสมที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากกระแสเคลื่อนไหวทางศิลปะนีโอ-ดาดา (Neo-Dada) ต้นธารของป๊อปอาร์ต โดยใช้เทคนิคปะติดเศษวัสดุเก็บตกเหลือใช้อย่าง กล่องบรรจุภัณฑ์หรือวอลเปเปอร์เก่าๆ เข้ากับชิ้นส่วนของสิ่งพิมพ์ต่างๆ อย่างพาดหัวข่าวและเกมปริศนาอักษรไขว้ในหนังสือพิมพ์ ผสมผสานกับเทคนิคการพิมพ์ซิลค์สกรีน ทำให้เขาเริ่มเป็นที่จับตาของเหล่านักสะสมงานศิลปะร่วมสมัยในลอนดอน

กระทั่งในเวลาต่อมา ศิลปินได้มีการหยิบเอาวัตถุข้าวของสำเร็จรูปที่หลายคนอาจเคยเห็นคุ้นตาในร้านค้าตามต่างจังหวัดอย่างป้ายโฆษณาน้ำอัดลมโลหะเก่าๆ อาทิ ป้ายโค้ก, เป๊ปซี่, แฟนต้า, สไปรท์, เซเว่นอัพ ฯลฯ ที่เขาเก็บสะสมไว้ตั้งแต่ยังเยาว์วัย มาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะ ด้วยการหยิบเอาภาพของบุคคลผู้มีชื่อเสียงโด่งดังระดับตำนานของโลกในแวดวงต่างๆ มาปะติดบนป้ายน้ำอัดลมเหล่านี้ในรูปแบบคล้ายภาพขาวดำในสิ่งพิมพ์ ผสานกับภาพวาดลายเส้นแบบการ์ตูนอันเรียบง่ายแต่เปี่ยมสไตล์ จนทำให้ผลงานของเขากลายเป็นที่รู้จักในวงการศิลปะระดับสากล

สำหรับ Epiphany นิทรรศการแสดงเดี่ยวครั้งล่าสุดนี้ ศิลปินพัฒนาแนวทางการทำงานศิลปะกับวัตถุข้าวของสำเร็จรูปของเขาขึ้นอีกระดับ ด้วยการหยิบเอาวัตถุข้าวของสำเร็จรูปเก่าๆ ที่เก็บสะสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน สร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะ ด้วยการวาดตัวหนังสือถ้อยคำลงบนตัววัตถุข้าวของสำเร็จรูปเหล่านี้

แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ ถ้อยคำที่เขาเขียนเหล่านี้ต่างทำหน้าที่เชื่อมร้อยความหมายในตัวของวัตถุข้าวของสำเร็จรูปที่ว่านี้เข้ากับประวัติศาสตร์ศิลปะโลกหลากยุคสมัย รวมถึงวัฒธรรมป๊อปในโลกสากล อย่างเปี่ยมไหวพริบปฏิภาณ สนุกสนาน และเต็มไปด้วยอารมณ์ขันชวนหัว ไม่ต่างอะไรกับการผสานแนวคิดแบบ เรดี้เมดส์ (readymades) ของศิลปินชาวฝรั่งเศส-อเมริกันผู้ส่งอิทธิพลทางความคิดต่อวงการศิลปะสมัยใหม่มากที่สุดคนหนึ่งอย่าง มาร์แซล ดูชองป์ (Marcel Duchamp) ซึ่งเป็นการนำเอาวัตถุและข้าวของธรรมดาที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวันมาทำให้กลายเป็นศิลปะ เข้ากับการเล่นมุกตลกทางภาพที่เชื่อมโยงกับภาษาและความหมายของตัววัตถุที่นำเสนอ หรือ Visual pun (การเล่นคำด้วยภาพ) ที่ปรากฏในในผลงานของศิลปินคนสำคัญในขบวนการศิลปะเซอร์เรียลลิสม์ (Surrealism) ชาวเบลเยียมอย่าง เรอเน มากริตต์ (René Magritte) 

อีกทั้งภาคภูมิยังลดความเคร่งเครียดจริงจังของเนื้อหาในผลงานชุดนี้ของเขา ด้วยการเขียนตัวหนังสือในลักษณะหวัดแกมบรรจง คล้ายกับตัวหนังสือในหนังสือการ์ตูน หนำซ้ำบางครั้งยังเขียนผิด ขีดฆ่า และเขียนแก้ใหม่อย่างจงใจหลงเหลือให้เห็นความผิดพลาด ซึ่งแนวทางการทำงานเช่นนี้ยังได้แรงบันดาลใจมาจากการทำงานของ ฌอง-มิเชล บาสเกีย (Jean-Michel Basquiat) ผู้เป็นที่รู้จักจากผลงานภาพวาดกึ่งนามธรรมลายเส้นอิสระ ผสานกับการเขียนตัวหนังสือถ้อยคำแบบศิลปะกราฟิตี้ลงไปบนภาพวาดอีกด้วย

นอกจากนี้ในนิทรรศการยังมีผลงานที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการเล่นสนุกกับตัวงานศิลปะ ซึ่งเป็นรูปแบบที่พ้องกับแนวคิด สุนทรียศาสตร์เชิงสัมพันธ์ (Relational Aesthetics) อันเป็นแนวทางศิลปะที่แหวกขนบธรรมเนียมเดิมๆ ทางศิลปะ ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ชมเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ตอบโต้กับผลงานศิลปะ เพื่อลดช่องว่างระหว่างศิลปะกับผู้ชม จากที่เคยได้เพียงดูแต่ตาเฉยๆ เท่านั้น

ด้วยการทำผลงานศิลปะในลักษณะนี้ออกมาเป็นจำนวนมากมายนับพันชิ้น ทำให้นิทรรศการครั้งนี้ของภาคภูมิไม่ต่างอะไรกับการสร้างแผนที่ความคิด (Mind Map) ของเขา เพื่อท้าทายให้ผู้ชมเดินทางตามรอยสำรวจเส้นทางแห่งความคิด เพื่อค้นหาและไขปริศนาแห่งแรงบันดาลใจของศิลปินที่ซุกซ่อนอยู่ในผลงานศิลปะแต่ละชิ้นของเขานั่นเอง


นิทรรศการจัดแสดงตั้งแต่วันนี้ – 28 กุมภาพันธ์ 2568

ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าชม

พิกัด

  • Next Door Project ซอยสาธุประดิษฐ์ 5 ช่องนนทรี ยานนาวา กรุงเทพฯ 
  • เปิดวันจันทร-เสาร์ เวลา 10.00-17.00 น. (ปิดวันอาทิตย์)
  • มีที่จอดรถ